top of page

Creative Path ออกแบบกราฟิกทุกประเภทสำหรับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเพื่อการตลาดออนไลน์ กิจกรรมทางสังคม และอื่นๆ

How To Train Your Dragon กับการปิดฉากตำนานมังกรอย่างงดงาม


นับเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้วที่ภาพยนตร์แอนิเมชันอย่าง How To Train Your Dragon เข้าฉายในปี 2010 ด้วยเรื่องราวความกล้าหาญและการค้นหาตัวเองด้วยพรแสวงของเด็กชายชาวไวกิ้งตัวเล็กๆ นามว่า ‘ฮิคคัพ’ กับมังกรคู่ใจ พร้อมกับตอนจบที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกดีๆ

และในปี 2019 นี้เอง How To Train Your Dragon: The Hidden World จากค่าย DreamWorks Animation นำฮิคคัพ กับมังกรคู่ใจ กลับมาโลดแล่นบนจอภาพยนตร์อีกครั้ง มาพร้อมกับฉากที่ตระการตา และเรื่องราวที่สนุกสนานและแสนจะประทับใจ แต่งแต้มตำนานชาวไวกิ้งได้อย่างมีสีสันและปิดท้ายเรื่องได้อย่างงดงามและสมศักดิ์ศรีแบบหนังไตรภาค

การรังสรรค์ในจินตนาการและการสร้างภาพยนตร์

สำหรับไวกิ้งในจินตนาการ How To Train Your Dragon รังสรรค์ความสวยงามทางด้านงานศิลป์และแสงในวัฒนธรรมของชาวไวกิ้งออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ และแม้บางครั้งมันจะไม่ใช่แนวที่ผู้เขียนชอบนัก How To Train Your Dragon เต็มไปด้วยสีสันตามแบบฉบับความเป็นการ์ตูน ผสมผสานกับความสมจริงของฉากอย่างลงตัว พูดได้ว่า คงไว้ซึ่งความเป็นการ์ตูนและความสมจริงในขณะเดียวกัน

ทีมผู้สร้างได้รังสรรค์งานศิลป์ต่างๆ ตามแบบไวกิ้งออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน อาวุธ ตลอดจนยานพาหนะอย่างเรือไวกิ้ง อันขึ้นชื่อ ไปจนถึงมังกรที่มาหลายหลาก นอกจากนี้ เพื่อการเคลื่อนไหวที่สมจริงอย่างการบินของมังกร ทีมผู้สร้างถึงกลับต้องไปเรียนการบินจริงเพื่อทำความเข้าใจกับกฎฟิสิกส์การบิน ทิศทางลม และอื่นๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ตัวละครแอนิเมชันแต่ละตัวในเรื่องมีชีวิตชีวาและสื่ออารมณ์ได้ชัดเจน ทั้งจากการสร้างงานแอนิเมชันและการพากย์เสียง รวมถึงฉากและดนตรีประกอบ อีกทั้งในเรื่องบทบาทตัวละคร บรรดาตัวละครสมทบก็มีพัฒนาการและบทบาทที่มากขึ้นกว่าการสร้างสีสันแบบแค่ปรากฎอยู่ในฉากต่างๆ แต่ยังมีบทบาทสำคัญที่ไม่ได้ทำให้ตัวเอกกลายเป็นวีรบุรุษแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งก็ถือเป็นคุณงามความดีของบทหนังที่เฉลี่ยบทให้ตัวละครทุกตัวได้มีโอกาสสร้างความประทับใจคนดูได้เป็นอย่างดี

การปิดฉากตำนานของเหล่ามังกร

ในหลายวัฒนธรรมของโลก เรื่องเล่าขานและตำนานของมังกรปรากฏอยู่แทบทุกหนแห่ง เป็นที่รับรู้จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นจากวัฒนธรรมจีน วัฒนธรรมญี่ปุ่น และตำนานในยุโรป แต่เราสามารถกล่าวได้ว่า ตำนานไวกิ้งในเรื่องมังกร ถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเผยแพร่ไปในยุโรป เราจะเห็นได้จากลักษณะสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของชาวไวกิ้ง เช่น เรือ ที่มีลักษณะเป็นมังกร (ชาวไวกิ้งเป็นที่รู้จักในฐานะชนเผ่าที่มีความสามารถอันยอดเยี่ยมทั้งด้านการเดินเรือและการปกครอง ไวกิ้งเป็นหนึ่งในชนเผ่าอันน่าทึ่ง และเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในรอยเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ยุโรป รวมถึงผู้ชายร่างกำยำและสวมหมวกมีเขา ที่เราจะได้เห็นในเรื่อง) ทั้งเรื่องเล่าขานหรือนิทานของมังกรและอัศวินในสมัยกลางของยุโรป (หลังยุคไวกิ้ง) ตลอดจนเรื่องราวที่มีมังกรมาเกี่ยวข้อง ทั้งใน Game of Thrones, The Lord of the Rings, Sleeping Beauty และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนมาจากอิทธิพลของตำนานของไวกิ้งเรื่องมังกรที่ถูกส่งต่อไปยังวัฒนธรรมอื่นๆ (ตรงนี้ ไม่ขอนับทางฝั่งโลกตะวันออก)

How To Train Your Dragon พยายามที่จะสื่อมากว่า เรื่องราวในภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวก่อนเรื่องราวและประวัติศาสตร์ทั้งหมดของชาวไวกิ้งที่เรารู้จัก ซึ่งนับว่า ภาพยนตร์พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และมังกรออกมาได้อย่างดีและเต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพระหว่างสองเผ่าพันธุ์ก่อนที่จะจากลา ปิดท้ายด้วยการจากไปของมังกรและการมีชีวิตต่อไปของชาวไวกิ้งไร้มังกร (เราจะเริ่มเห็นสิ่งก่อสร้างและเครื่องแต่งกายตามแบบของชาวไวกิ้งจริงๆ ในตอนท้ายเรื่อง ซึ่งเป็นการจงใจจะสื่อถึงการเชื่อมโยงจินตนาการในภาพยนตร์และโลกจริง) ตลอดจนการกล่าวถึงความเชื่อในเรื่องของมังกรที่ถูกถ่ายทอดและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น (ฉากที่ฮิคคัพล่องเรือ เล่าเรื่องราวของมังกรให้กับลูกๆ ฟัง) จนถึงช่วงเวลาของเราในปัจจุบัน ที่ไม่หลงเหลือมังกรและหลักฐานเกี่ยวกับมันอยู่อีกเลย หลงเหลือไว้แต่เพียงความทรงจำของมนุษย์ที่กล่าวถึงเหล่ามังกรอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม ซึ่งพูดได้เลยว่า How To Train Your Dragon จบเรื่องทั้งในเรื่องราวของตัวมันเองได้อย่างดี และยังปิดฉากตำนานของเหล่ามังกรที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของโลกเราได้อย่างงดงามและน่าประทับใจ

เรื่องราวที่สนุกสนานและการปิดฉากเรื่องที่น่าประทับใจของ How To Train Your Dragon: The Hidden World นำมาซึ่งความรู้สึกที่ดีสำหรับผู้ชมได้อย่างแน่นอน ทั้งในเรื่องของมิตรภาพและครอบครัว แม้ว่าผู้เขียนจะรู้เศร้าใจเล็กๆ ที่ How To Train Your Dragon ภาคนี้เป็นภาคสุดท้าย แต่อย่างไรก็ดี ในความเห็นของผู้เขียน จบแบบนี้ มันโอเคที่สุดแล้ว…..

 

“Once there were dragons.” “ครั้งหนึ่ง มันเคยมีมังกรอยู่”

 
 

About Author and Contributor

Comments


บทความแนะนำ
ประเภทบทความ
บทความล่าสุด
Follow Us
  • Facebook
  • Instagram
Services

สำหรับสินค้า แบรนด์ โฆษณาออนไลน์ หนัง/ภาพยนตร์ ธุรกิจ บริการ และอื่นๆ ให้โดนใจลูกค้า อย่างมืออาชีพและแสดงถึงภาพลักษณ์ ความน่าสนใจของชิ้นงาน

สำหรับธุรกิจ สินค้า แบรนด์ และอื่นๆ ให้โดนใจลูกค้า อย่างมืออาชีพและแสดงถึงภาพลักษณ์ ความน่าสนใจของชิ้นงาน

สำหรับธุรกิจ-องค์กร แบรนด์ สินค้า บริการ และอื่นๆ ให้เข้าใจง่าย มีสไตล์ สร้างความน่าเชื่อถือ อย่างมืออาชีพและแสดงถึงภาพลักษณ์ ความน่าสนใจของชิ้นงาน

สำหรับสมัครงาน ฝึกงาน และเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือวัยทำงาน ให้โดนใจคณะกรรมการ อย่างมืออาชีพและแสดงถึงภาพลักษณ์ ความน่าสนใจของชิ้นงาน

การ์ตูนช่อง คาแร๊กเตอร์ และการ์ตูนประกอบ สำหรับใช้เป็นภาพประกอบบทความ หนังสือ โฆษณาออนไลน์ ธุรกิจและบริการอื่นๆ ตามความต้องการ

แปลเอกสารภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย แปลตั้งแต่เอกสารทั่วไปจนถึงเอกสารทางเทคนิคที่มีความซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นบทความ เรซูเม่สมัครงาน วิจัย รายงานการประชุม เอกสารราชการ ฯลฯ

bottom of page